คำถาม - คำตอบ


โอโซน คือรูปหนึ่งของก๊าซออกซิเจนที่มีพลัง (Active Oxygen) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเคชั่นกับสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ได้เกือบทุกชนิดทั้งในน้ำและในอากาศ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรงและเร็วกว่าคลอรีนถึง 3,125 เท่า โอโซนจะเข้าไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อน และทำการแยกย่อยสลาย โดยการเปลี่ยนโครงสร้างของสารนั้น โอโซนเป็นก๊าซที่มีโครงสร้างไม่เสถียร หลังทำปฏิกิริยา โอโซนจะแปรสภาพกลับเป็นก๊าซออกซิเจนซึ่งไม่เป็นอันตราย หรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1840 โดยนักเคมีชาวเยอรมันชื่อ คริสเตียน เฟเดอริก ชอนไบน์ โดยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า OZEIN


หลังจากที่โอโซนจับตัว และออกจากเครื่องผลิตโอโซนไปกระจายอยู่ภายในห้อง โอโซน จะเปลี่ยนสภาพกลับมาเป็นออกซิเจน(O2) ทันที โดยขั้นตอนต่างๆ เนื่องจากว่าโอโซนเป็นสารเคมีที่มีลักษณะไม่มั่นคง ซึ่งจะทำให้เพิ่มแรงในขั้นตอนการทำปฏิกิริยาจากออกไซด์กับตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่น สะสารต่างๆ จะถูกย้ายโดยโอโซน โอโซนจะเปลี่ยนเป็นออกซิเจน [O2] ภายใน 30 นาที ด้วยจำนวนที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของระดับของตัวมันเองหมายความว่าภายในระยะเวลา 30 นาที จะมีส่วนที่เหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เป็นหลักการเดียวกันกับเราขาคณิตที่ลดจำนวนทีละครึ่ง เช่น 16,8,4,2,1 ในทางปฏิบัติครึ่งหนึ่งของวงจรของ โอโซน มักจะน้อยกว่า 30 นาทีของแบคทีเรียและสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ในอากาศ แต่ในขณะเดียวกัน โอโซน ก็มีพลังงานพอที่จะทำให้งานที่มันปฏิบัติอยู่สำเร็จลุล่วงได้.


ก๊าซโอโซนมีปฏิกริยาออกซิไดซ์รุนแรงมาก ซึ่งจะทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของเชื้อโรคแบบเฉียบพลันโดยเฉพาะเชื้อ แบคทีเรียจะตายภายใน 2 นาที ในขณะที่คลอรีนจะใช้เวลาถึง 4 วัน ทั้งนี้การใช้งานในส่วนของงานอุตสาหกรรมต้อง ออกแบบให้เหมาะสมโดยวิศวกรที่ชำนาญงานเท่านั้น ถ้านำไปใช้อย่างไม่ถูกวิธีจะไม่เกิดประโยชน์ ทำให้สูญเสียเงิน และจะเข้าใจว่าโอโซนใช้แล้วไม่ได้ผล ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันของปัจจัยต่อไปนี้คือ

  • ปริมาณก๊าซโอโซนที่ออกมาจากเครื่องผลิตต้องออกมาเต็มประสิทธิภาพ
  • ปริมาณน้ำ และปริมาณสิ่งเจือปนในน้ำ (Type and Volume)
  • การผสมโอโซนกันน้ำ (Mixing Method)
  • เวลาที่ก๊าซโอโซนละลายน้ำ (Contact Time)
  • อุณหภูมิ (Temperature)
  • ค่า pH ของน้ำที่ต้องการบำบัด

  • น้ำ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต และเป็นพาหะนำโรคได้ดีโดยเฉพาะน้ำที่ไม่สะอาด เป็นเหตุให้เกิดโรค การเจ็บป่วยหรือการแพร่เชื้อโรคยังผู้อื่น เช่นการดื่มน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นในที่สาธารณะ ดังนั้น การใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มหรือ ภาชนะใส่น้ำ จึงมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากไม่มีสารเคมีตกค้าง และฆ่าเชื้อโรคได้


    โอโซน มีคุณสมบัติในการฟอกสี ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีโอโซนเข้ามาใช้ในการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด การบำบัดน้ำเสียและน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโอโซนมีคุณสมบัติในการฟอกสีและบำบัดน้ำ ทำให้น้ำเสียที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทั้งทางน้ำและอากาศ สามารถกลับมาเป็นน้ำที่ใสและมีคุณลักษณะของน้ำที่ดีขึ้น ไม่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม

    จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยระบบโอโซนนั้น ช่วยให้บริโภคน้ำดื่มที่สะอาด ช่วยให้สุขภาพของชีวิตนั้นดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของมลพิษที่เกิดจากน้ำเสียต่างๆ อันเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรคในระบบอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีโอโซนช่วยในการฆ่าเชื้อโรคในระบบน้ำ จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่า กับประโยชน์ที่คุณจะได้รับในอนาคต เพื่อชีวิตและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    โอโซนสามรถใช้ประโยชน์ได้หลากหายเช่น

  • ใช้ในครัวเรือน เช่น ใช้ล้างผัก ผลไม้ และล้างอาหารสด ขจัดสารพิษ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรค
  • ใช้ประกอบกับเครื่องกรองน้ำทำน้ำดื่ม
  • ใช้ขจัดกลิ่นอับเหม็นตกค้างตามห้องต่างๆ
  • ใช้ในรถยนต์ เพื่อปรับสภาพอากาศกลิ่นอับชื้นในห้องโดยสารรถยนต์
  • ใช้ในวงการแพทย์ เช่น ใช้ฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัดหรือห้องผู้ป่วย
  • ใช้กับระบบน้ำดื่มเพื่อการพาณิชย์ และระบบน้ำดื่มชุมชนทั่วไป
  • ใช้บำบัดน้ำเสียเพื่อการขจัดสารเคมี สารแขวนลอย ฟอกสี โลหะหนัก และเชื้อโรคในขั้นตอนสุดท้าย
  • ใช้ในขบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น บ่อปลา บ่อเพาะฟักลูกกุ้ง และบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
  • ใช้บำบัดน้ำในสระว่ายน้ำ เพื่อแทนคลอรีนขจัดสารปนเปื้อนและเชื้อโรค
  • ใช้ในระบบน้ำของหอระบายความร้อน เพื่อควบคุมตะไคร่น้ำ การเกิดตะกรัน และลดการกัดกร่อน
  • ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น โรงงานอาหารสัตว์ และกลิ่นจากน้ำเสีย
  • ใช้ในขบวนการล้างอาหารสดก่อนการแช่แข็งเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรค
  • ใช้ดับกลิ่น และฆ่าเชื้อโรคในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล อาบอบนวด
  • ใช้ในขบวนการซักผ้า ซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายการใช้ผงซักฟอก และยังช่วยฆ่าเชื้อได้ดีด้วย
  • ใช้ขจัดกลิ่นหมึกพิมพ์ และกลิ่นทินเนอร์ตามโรงพิมพ์ และห้องพ่นสีรถยนต์
  • ใช้ขจัดก๊าซไอเสียรถยนต์ตามที่จอดรถใต้อาคารสูง
  • 1. เครื่องฟอกอากาศโดยทั่วไปใช้วิธีกรองความสกปรกอากาศด้วยแผ่นกรอง เน้นฝุ่นละอองเป็นหลัก

  • ประสิทธิภาพการทำงานขึ้นกับแรงดูดอากาศของพัดลมและคุณภาพของแผ่นกรอง
  • ข้อจำกัด คือ ฟอกอากาศได้เฉพาะในส่วนของอากาศที่ดูดเข้าเครื่องได้ จึงไม่สามารถฟอกอากาศ ณ. ซอกมุมอับ หรือกลิ่นที่ติดผนัง พรม เฟอร์นิเจอร์ได้
  • 2. เครื่องผลิตโอโซน เน้นการกำจัดกลิ่นอับชื้นและกระจายก๊าซโอโซนไปฆ่าเชื้อโรค สลายกลิ่น สลายก๊าซพิษได้ทั่วทั้งห้องรวมถึงภายในเครื่องปรับอากาศ

  • ข้อจำกัด คือการใช้โอโซน ไม่เหมาะกับการสูดดมตรงๆ และไม่เน้นเปิดทั้งวันเพราะโอโซนมีสภาพเป็นกรดและมีกลิ่นคล้ายคาวปลา เครื่่องโอโซนทุกรุ่นจะต้องทีตัวตั้งเวลาขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานนั้นๆ
  • สิ่งที่มีประโยชน์ จะมีข้อจำกัดในการใช้งาน หากราสูดดมตรงๆ มากๆ อาจเกิดการระคายเคืองเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการเปิดโอโซนควรเปิดในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งเราสามาถนั่งอยู่ได้ปกติ หรือหากมีกลินฉุนมากเกินไปก็ควรปิดเครื่องสักพักเพื่อให้โอโซนแตกตัว

    การใช้โอโซนฟอกอากาศ ตามมาตรฐานสากลปริมาณโอโซนต้องไม่เกิน 0.05 ส่วนในล้านส่วน ถ้าเกินกว่านี้อาจจะเกิดระคายเคืองได้ แต่เนื่องจากก๊าซโอโซนไม่เสถียร จะสลายตัวคืนสภาพออกซิเจน ถ้าออกจากพื้นที่อาการระคายเคืองก็จะหายไป เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณโอโซนในธรรมชาติ บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ เช่น ชายทะเล ภูเขาสูง นั้นจะมีโอโซน ประมาณ 0.01-0.03 ส่วนในล้านส่วน เครื่องโอโซนฟอกอากาศจะผลิตโอโซนที่ระดับ 0.04 ส่วนในล้านส่วน

    Style Switcher

    Color Skin